เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้
ภายหลังจากการปฏิบัติงานการไถเตรียมดินด้วยไถจานแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดูแลและบำรุงรักษา เพื่อที่จะทำให้ไถจานมีสภาพเตรียมพร้อมที่จะใช้งานในคราวต่อไป
สำหรับการดูแลรักษาไถจานสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
ดูแลชุดลูกปืน โดยการอัดจาระบีและหล่อลื่น พร้อมทั้งสำรวจความเสียหายภายหลังจากการใช้งานทุกครั้ง
ทำความสะอาดชุดลูกปืนของจานไถ พร้อมทั้งปรับให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
ตรวจสอบการหมุนของจานไถหากไม่อยู่ในสภาพที่ปกติให้รีบทำการแก้ไข
ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งของแผ่นขูดดิน โดยพยายามปรับให้อยู่ชิดจานไถมากที่สุด (ประมาณ 1 เซนติเมตร)
หลังจากการใช้งานทุกครั้งควรนำน้ำยากันสนิมหรือน้ำมันเครื่องเก่าทาบริเวณจานไถเพื่อป้องกันความชื้นอันก่อให้เกิดสนิมบริเวณจานไถได้
หากจานไถเกิดการฉีกขาดหรือชำรุดควรรีบทำการซ่อมทันทีโดยการเชื่อมหรือลับให้คมบริเวณขอบจานไ อย่าปล่อยทิ้งไว้ หรือนำไปใช้งานต่อโดยไม่แก้ไข
ตรวจสอบสกรูที่ยึดส่วนต่างๆ ของชุดไถจานทุกครั้งจากการใช้งาน หากเกิดการคลายให้ขันให้แน่น หากเกิดการขาดหรือชำรุดต้องรีบทำการเปลี่ยนทันที
หางไถพรวนจะตั้งได้ก็ต่อเมื่อล้อขวาของรถแทรกเตอร์ได้วิ่งในรอยร่องไถแล้ว หมายถึงจะต้องลากหางไถพรวนไปให้เกิดรอย 1 เที่ยวก่อน แล้วจึงมาเริ่มทำการปรับตั้งให้ได้ระยะถูกต้องและเหมาะสม
จานไถใบแรกจะตัดดินมากน้อยขึ้นอยู่กับการบังคับล้อหน้าให้อยู่ชิดหรือห่างรอยร่องไถ
ทุกครั้งที่มีการถอดหางไถพรวนออกและนำกลับมาใส่ใหม่จะต้องทำการปรับตั้งระยะต่างๆใหม่ทั้งหมด
เนื่องจากชุดปุ้งกี๋ตักของโรงงาน กลกิจ บ้านโป่งมี 2 แบบ คือ
แบบปากปุ้งกี๋ใหญ่ จะเหมาะกับการใช้ตักวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ผลิตผลทางการเกษตร
แบบปากปุ้งกี๋เล็ก จะสามารถใช้กับวัสดุที่มีน้ำหนักมาก เช่ หิน ดิน และทรายได้
ฉะนันหากผู้ปฏิบัติงานนำไปใช้งานผิดประเภท ซึ่งอาจจะทำให้โครงสร้างของชุดปุ้งกี๋ตักหรือตัวรถแทรกเตอร์เกิดความเสียหายขึ้นได้ ทางโรงงานผู้ผลิตจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
ในการที่จะยกโครงแขนยกปุ้งกี๋ลงหลังจากที่ทำการเทปุ้งกี๋ไปแล้วนั้น (คว่ำลง)จะต้องปฏิบัติดังนี้คือ
1.1 ให้ทำการหงายปุ้งกี๋ขึ้นก่อน
1.2 จากนั้นจึงทำการยกโครงแขนยกปุ้งกี๋ลงได้
แต่ถ้าในการยกโครงแขนยกปุ้งกี๋ลงนั้นไม่ทำการหงายปุ้งกี๋ขึ้นก่อน จะทำให้เกิดการงัดกันของระบบกลไกลก่อให้เกิดความเสียหายแก่กระบอกไฮดรอลิกคว่ำหงายปุ้งกี๋ (กระบอกตัวสั้น) และคอนโทรลได้